หากจะกล่าวถึงกีฬาประเภท strength training(สร้างความแข็งแรง)นั้น หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ต้องนึกถึง คงจะหนีไม่พ้น “บาร์เบล” แต่ทว่า การจะเลือกอุปกรณ์ซักชิ้น ที่เราจะใช้งานไปอีกยาวนานนั้น ควรคำนึงถึงหลายปัจจัย ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงความแตกต่างของบาร์แต่ละชนิด ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกบาร์ที่เหมาะได้

วัสดุและการชุบแข็ง
บาร์เบลล์นั้นผลิตขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เดียวนั่นก็คือ มอบประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้งาน ซึ่งนั่นก็คือบาร์แต่ละชิ้น สรรค์สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการฝึกที่ต่างกัน ในส่วนแรกนี้เราจะจะพูดถึงวิธีการในการผลิตส่วนด้ามจับ ซึ่งถือเป็นรากฐานในการสร้างบาร์เบล
โดยทั่วไปนั้น สิ่งที่ใช้ผลิตบาร์นั้น มักจะเป็นวัสดุเหล่านี้
- เหล็กกล้าไร้สนิม (สแตนเลส : Stainless)
- เหล็กสปริง
- เหล็กกล้าผสม (Alloy)
- เหล็กกล้าคาร์บอน
ซึ่งโลหะแต่ละประเภทนั้น ก็มีค่า PSI (ความทนต่อแรงดึง) และความร้อนในการชุบแข็งที่ต่างกันออกไป ซึ่งจุดนี้เป็นตัวกำหนดว่า บาร์ที่เราต้องการนั้นแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ ซึ่งค่า PSI จะอยู่ในช่วง 190K – 240K ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทในการฝึกของคุณ การเลือกบาร์ให้เหมาะสมกับการฝึกนั้นจะช่วยถนอมอายุของอุปกรณ์ในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬา powerlift ต้องการบาร์เบลล์ที่สามารถรองรับน้ำหนักมหาศาลได้ ส่วนนักกีฬาโอลิมปิกนั้นต้องการบาร์ที่มีความยืดหยุ่น ฯลฯ
Knurling
Knurling คือส่วนที่เป็นพื้นผิวลายๆ โดยทั่วไปมีระยะห่างประมาณช่วงไหล่ อยู่ทั้งสองด้านของด้ามจับ ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้ถือบาร์ได้ถนัดมากขึ้น ในบางชิ้นจะมีความขรุขระมาก หรือบางชิ้นก็เป็นลายที่ค่อนข้างเรียบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกีฬา

ปลอกและลูกปืน
ส่วนของปลอก คือบริเวณที่เราใช้ใส่แผ่นน้ำหนักบนบาร์ ซึ่งจะทำงานร่วมกับลูกปืน(ซึ่งจะทำให้ส่วนปลอกนี้หมุนอย่างอิสระแยกจากด้าม) โดยบาร์เบลล์ชนิดต่างๆนั้น ก็มีระบบลูกปืนที่ต่างออกไปตามแต่ประเภทของกีฬาเช่นกัน

- ลูกปืนแบบบูช (Bush Bearing)
- ตลับลูกปืนเม็ดเข็ม (Pin Bearing)
ซึ่งจุดประสงค์ของลูกปืนนั้นก็เพื่อสร้างแรงหมุนขณะยก ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมบาร์ โดยบาร์แบบโอลิมปิกนั้นใช้ตลับลูกปืนเม็ดเข็ม ซึ่งช่วยให้หมุนได้อย่างอิสระ ในขณะที่บาร์ powerlift หรือบาร์ทั่วๆไปจะใช้ลูกปืนที่หมุนช้ากว่า
พื้นผิว

ส่วนสุดท้ายที่เราจะพูดคือพื้นผิว ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของบาร์เบลล์ โดยมีความแตกต่างดังนี้
- ชุบโครเมี่ยม (Chrome)
- รมดำ (Black oxide)
- ชุบสังกะสี (Zinc)
- ชุบเซรามิค (Cerakote)
- เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless)
จุดนี้ไม่มีผิดหรือถูก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความชอบส่วนตัว จุดประสงค์นั้นเป็นเพียงแค่การป้องกันการเกิดสนิม ซึ่งเป็นประเด็นของการบำรุงอุปกรณ์หากคุณต้องการใช้งานในระยะยาว ซึ่งในแต่ละพื้นผิวนั้นมีข้อแตกต่างในเรื่องความคงทน ยกตัวอย่างเช่น การรมดำนั้นดูสวยกว่าชุบสังกะสี แต่ก็อาจเกิดสนิมเร็วกว่า
การหมั่นค้นคว้าจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกบาร์ได้ดีขึ้น หากว่าคุณต้องการใช้งานอุปกรณ์ซักชิ้น อย่าให้ของราคาถูกมาล่อลวงคุณได้ ความปลอดภัยนั้นสำคัญที่สุด